ภาพถ่ายของ วัดศรีจอมเรือง

(1) วัดศรีจอมเรือง และศูนย์วิจัยประมงน้ำจืดฯ ตั้งอยู่ในเวียงโบราณ (เวียงน้ำเต้า) เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นเคยมาตั้งเป็นค่ายทหารด้วย เวลาเข้าวัดจะถอดรองเท้า แล้วเข้ามาล้างเท้า-อาบน้ำที่วัด(2) แม่ศีลและพ่อศีล จะถือศีล 8 กินเจ คือกินข้าวกับถั่วเน่า โดยอาบน้ำและนอนที่ศาลาที่นอกวัด เมื่อถึงเวลา 11 นาฬิกา ลูกหลานจะเข้าวัดมารับเอาปิ่นโตสำหรับใส่อาหารเพื่อจะนำมาส่งให้ที่วัดในวันถัดไป(3) ประเพณีข้าวซอมต่อ เป็นประเพณีของชาวไทใหญ่ ทำในช่วงเทศกาลวันออกพรรษา (ชาวพม่าเรียก “ท่าซอมต่อ”) โดยจะนิยมแห่กลองสิ้งหม้อง ขณะปรุงข้าวซอมต่อ ถึงเวลาประมาณตี 1 ถึงตี 2 ในเวลา 18 นาฬิกา จะมีพิธีสรงน้ำพุทธาภิเษก(4) “ตบซู” คือประเพณีที่ทำในช่วงเข้าพรรษาและออกพรรษา โดยจะทาหน้าด้วยแป้งและขี้หมิ่น (ขี้เขม่าก้นหม้อ) แล้วแห่ข้าวซอมต่อเป็นขบวนไปรอบหมู่บ้านเพื่อขอบคุณชาวบ้าน(5) เดือนยี่ (เดือน 12 ของไทย) จะมีประเพณีตานต้อด(6) ในอดีตส่างแดงจะสอนฟ้อนนางนก และฟ้อนดาบ(7) ยำใบมะขาม (เนื่องจากไม่มีใบเหมี้ยงเหมือนพม่า) โดยใส่แคบหมู ปลาแห้ง กระเทียมเจียว พริกแห้งที่คั่ว (ทอด) น้ำมันแล้ว และหอมแดงซอยสด ๆ (8) อาหารแบบไทใหญ่ ได้แก่ - แกงฮังเล ใช้เนื้อหมู - แกงฮังหยู่ คือแกงขี้เหล็ก - ผักส้มปู๋ คือกระเจี๊ยบใบแก่ - โสะบ่าเขือส้ม โดยฝานมะเขือเทศเป็นแผ่นบางแล้วราดด้วยซีอิ้วใส่กระเทียมเจียว - แกงน้ำขิง จะใส่ปลาแห้ง ขิง แคบหมู มะแขว้งขม มะเขือน้อย - ถั่วเน่า เป็นถั่วเหลืองซึ่งอดีตจะปลูกเอง แต่ปัจจุบันซื้อมาจากแม่ขะจาน “ถั่วเน่าแอ็บ” จะห่อด้วยใบตองแล้วเอาไปนึ่ง “ถั่วเน่าแข็บ” จะเป็นแผ่นแห้ง(9) ผู้ชายจะมีลายสักทั่วทั้งตัว ตั้งแต่หัวเข่าขึ้นมาถึงคอ(10) เรื่องราวของผู้คนในอดีต - พ่อส่างรงค์ เป็นชาวเงี้ยว (ไทใหญ่) แต่งงานกับแม่เฒ่าป้อ ทั้งสองท่านเป็นปู่และย่าของสามีป้าวันเพ็ญ รินสาร - ปู่แสนคำมี (ชาวไทใหญ่) เดิมย้ายมาจากแม่สาย มาแต่งงานกับแม่นางอิ่น (คุณย่าของป้าวรรณ สิงห์แก้ว) - ยายหล้ามีสามีอยู่ที่เชียงคำ จึงติดต่อกันให้ไปช่วยสร้างวัดนันตาราม ที่ อ.เชียงคำ - ตาหล้าและยายของตาโม๊ะ เป็นไทใหญ่มาจากยูนนาน